เตรียมพร้อมเยียวยาเกษตรกร 7 ล้านราย กระทบโควิด-19

เตรียมพร้อมเยียวยาเกษตรกร 7 ล้านราย กระทบโควิด-19

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยวันนี้ (6 ม.ค.) ว่า หลังจากพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีฯ แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 5 ม.ค. ที่ผ่านมาเรื่องการเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด19 โดยมอบหมายให้ นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในฐานะหัวหน้าทีมเศรษฐกิจและกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สภาพัฒน์ดูแลผลกระทบที่เกิดขึ้นในสองเดือนนี้ นั้น

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 

ได้สั่งการให้นายทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรฯ เตรียมความพร้อมในการเยียวยาเกษตรกรเพื่อความรวดเร็วทันทีที่มีความชัดเจนว่ารัฐบาลจะเยียวยาอย่างไร ทั้งนี้ มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.)ในฐานะนายทะเบียนตรวจสอบรายชื่อเกษตรกรที่เคยขึ้นทะเบียนในโครงการเยียวยาเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งเกษตรกรเกือบ 8 ล้านรายได้รับเงินเยียวยารายละ 15,000 บาท โดยโอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรงเดือนละ 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน ระหว่างเดือน มิ.ย – ส.ค. โดยรัฐมนตรีเกษตรฯ ยังมอบนโยบายให้เกษตรกรรายใหม่และที่ตกหล่นสามารถลงทะเบียนได้ครบถ้วนโดยต้องครอบคลุมไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังและทุกขั้นตอนต้องตรวจสอบความถูกต้อง

สำหรับโครงการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด19 ในปี 2563 สศก. ในฐานะนายทะเบียนจัดส่งรายชื่อเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนและได้ตรวจสอบแล้ว ให้ ธ.ก.ส. โอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรกว่า 1 แสนล้านบาท ซึ่งประกอบไปด้วย เกษตรกรกลุ่มพืช กลุ่มปศุสัตว์ กลุ่มประมง กลุ่มหม่อนไหม กลุ่มชาวไร่อ้อย และกลุ่มชาวไร่ยาสูบ โดย 2 กลุ่มหลังขึ้นทะเบียนกับกระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงการคลังตามลำดับโดยส่งทะเบียนเกษตรกรผ่าน สศก. ก่อนส่งให้ ธกส. โอนตรงให้เกษตรกร

นายอลงกรณ์ กล่าวว่า กระทรวงเกษตรฯ โดยนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0 ของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรฯ ได้พัฒนาปฏิรูปการบริหารและการบริการด้วยเทคโนโลยี เช่น จัดตั้งศูนย์ข้อมูลเกษตรแห่งชาติ มีบิ๊กดาต้าทำให้มีฐานข้อมูลเกษตรกร พร้อมดำเนินการในทุกภารกิจโดยเฉพาะการเยียวยาเกษตรกรกลางปีที่แล้วสามารถส่งฐานข้อมูลเกษตรกรให้ ธกส. ภายใน 5 วันทำการหลังจากคณะรัฐมนตรีมีมติเยียวยาเกษตรกร โดยรัฐมนตรีเกษตรฯ มีความห่วงใยเกษตรกรอย่างมากจากผลกระทบโควิด19 และย้ำให้ช่วยเหลือเยียวยาถึงมือเกษตรกรให้เร็วที่สุด

กรมธนารักษ์เตรียมขยายการก่อสร้างที่อยู่อาศัยของข้าราชการพลเรือนทุกประเภทบนที่ราชพัสดุ ไม่ต่ำกว่า 1 พัน ยูนิต สำหรับพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ แปลงพระโขนง และแปลงยานนาวา สำหรับในจังหวัดต่างๆ ได้แก่ จังหวัดเชียงราย นครนายก อุบลราชธานี อุดรธานี สงขลา สุราษฎร์ธานี ยะลา ปัตตานี ประจวบคีรีขันธ์ นนทบุรี นครราชสีมา และจันทบุรี ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นการสร้างความมั่นคงทางด้านที่อยู่อาศัยให้กับบุคลากรดังกล่าวด้วย

ดำเนินการสำรวจบ้านทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ที่อยู่ในพื้นที่ของส่วนราชการ

ซึ่งมีอยู่ประมาณ 95 แห่ง ทั่วประเทศ มาทำประโยชน์ในเชิงพาณิชย์โดยอาจให้เอกชนเข้ามาประมูลเพื่อทำประโยชน์ ตลอดจนเพื่อการท่องเที่ยวในชุมชนนั้นๆ และยังช่วยเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ โดยต้นเดือนกุมภาพันธ์จะดำเนินการเปิดประมูลบ้านขุนพิทักษ์บริหาร หรือบ้านเขียว อยุธยา และบ้านพายัพ ซอยสามเสน 5 กรุงเทพมหานคร

โครงการ “เปลี่ยนชุมชนเป็นห้องประชุมในที่ราชพัสดุ” ก็ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องด้วยเช่นกัน ซึ่งเมื่อการแพร่ระบาดของ COVID-19 เบาบางลงแล้ว กรมธนารักษ์จะสานต่อโครงการดังกล่าวเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในชุมชน และช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจฐานรากในชุมชนต่างๆ แข็งแกร่งมากขึ้น โดยการสร้างโอกาสฟื้นฟูเศรษฐกิจในพื้นที่ให้แก่ผู้ประกอบการในชุมชน และประชาชนในพื้นที่ ซึ่งจะก่อให้เกิดการสร้างรายได้ในทุกระดับ นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นการจัดหาที่ราชพัสดุให้กับรัฐวิสาหกิจชุมชน และกองทุนหมู่บ้านในชุมชนเช่าเพื่อให้มีพื้นที่ในการสร้างรายได้ สร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจฐานราก และคุณภาพชีวิตให้กับชุมชน

เร่งการเปิดพิพิธภัณฑ์ธนารักษ์ ขอนแก่น เพื่อยกระดับมาตรฐานการให้บริการและการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้และการท่องเที่ยว (Land Mark) โดยจะเปิดให้เข้าชมได้ในเดือนสิงหาคม 2564 ซึ่งเป็นการเผยแพร่ทรัพย์สินมีค่าของรัฐสู่ประชาชนและผู้สนใจ

ด้วยภารกิจของกรมธนารักษ์ มีเป้าประสงค์ที่จะดูแล บริหารจัดการที่ราชพัสดุให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชน และสังคมอย่างเป็นระบบ ก่อให้เกิดประสิทธิภาพอย่างสูงสุด โดยในปีงบประมาณ 2564 กรมธนารักษ์จะนำที่ราชพัสดุทั้งหมด 12.6 ล้านไร่ ซึ่งอยู่ในการครอบครองดูแลของหน่วยงานราชการต่างๆ และกรมธนารักษ์บริหารจัดการเพียง 4% โดยจะนำที่ราชพัสดุมาบริหารจัดการเองเพิ่มขึ้นเป็น 10% ทำให้กรมธนารักษ์มีรายได้จากค่าเช่าที่ดินเพิ่มขึ้นและจะเป็นผลดีที่ทำให้กรมธนารักษ์จัดเก็บรายได้เข้ารัฐได้สูงขึ้นอีกด้วย อธิบดีกรมธนารักษ์กล่าวในที่สุด

อย่างที่เห็นก็คือว่า ผมผ่านการเสี่ยงติดเชื้อมาแล้วถึงสามครั้ง และตรวจสามรอบ

ครั้งที่ 1 – คือการทำงานในออฟฟิศ อยู่กับผู้ที่ติดเชื้อโควิด ในช่วงที่เชื้อกำลังฟักตัวและไม่มีอาการ

ครั้งที่ 2 – หลังจากคนรอบข้างอาการเริ่มออก ผลจรวจออกมา เริ่มมีการให้พนักงาน WFH แต่ก่อนหน้านั้น ผมเองยังคงต้องขับรถ ร่วมโดยสารกับผู้ที่ติดเชื้อทุกวัน

ครั้งที่ 3 – กลับมาสัมผัสผู้ป่วยโควิดโดยตรงอีกครั้ง หลังจาก distancing กันมานานสัปดาห์นึง

Credit : ที่เที่ยวญี่ปุ่น | จัดอันดับต่างๆ | รีวิวของแบรนเนม | วิธีการลงทุนต่า