สื่อต่างประเทศรายงานว่า สภาคองเกรส ในประเทศสหรัฐฯ ได้ อนุมัติ เงินเยียวยา โควิด-19 มูลค่า 26 ล้านล้านบาท แล้ว เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม สำนักข่าว อัลจาซีร่า รายงานว่า สภาคอนเกรสได้อนุมัติเงินเยียวยาโควิด-19 ให้กับประชาชนชาวสหรัฐฯ มูลค่า 26 ล้านล้านบาท เป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลังจากที่ทางการสหรัฐฯถกเถียงถึงเงินเยียวยาก้อนดังกล่าวนานหลายเดือน
โดยมาตรการเยียวยาใหม่นี้จะจ่ายเงินโดยตรงให้กับประชาชนชาวสหรัฐฯให้ครอบครัวในสหรัฐฯ ราวๆ 18,000 บาทต่อสัปดาห์
ซึ่งจำนวนเงินอาจเพิ่มขึ้นตามจำนวนสมาชิกครอบครัว ซึ่งมาตรการใหม่นี้จะช่วยจ่ายเงินให้กับประชาชนที่ตกงานอีกราวๆ 9,000 บาทต่อสัปดาห์อีกด้วย นอกจากนี้มาตรการดังกล่าวจะยังช่วยเหลือกิจการขนาดเล็ก, โรงเรียน และ เพิ่มความสามารถในการเข้าถึงอินเตอร์เน็ต เพื่อช่วยให้ชาวอเมริกันสามารถเชื่อมต่อกันได้ง่ายขึ้น
นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ทางการมอบเงินเยียวยาให้กับประชาชน โดยในช่วงเดือนมีนาคม และ เดือนกรกฎาคม ทางการสหรัฐฯ ได้ทุ่มงบประมาณไปหลายล้านล้านบาท เพื่อเยียวยากิจการต่างๆ และครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 ทั้งนี้มาตรการเงินเยียวยาต่างๆจะสิ้นสุดลงสิ้นเดือนนี้
ซึ่งกระบวนการต่อไปคือการส่งร่างฉบับนี้ไปให้นาย โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯลงนามอนุมัติ ซึ่งหลายฝ่ายเชื่อว่าผู้นำสหรัฐฯจะเซ็นร่างฉบับดังกล่าว
ผู้พิพากษา ของ ศาลเยอรมัน ได้ทำการพิพากษาให้คงคำสั่งของหน่วยงานเมืองในการสั่งห้ามการขาย คุกกี้ ที่ถูกทำขึ้นโดยมีส่วนผสมมาจาก ขี้เลื่อย ศาลเยอรมัน (ศาลปกครอง) ประจำเมืองคาร์ลสรู (Karlsruhe) เมืองทางตะวันตกเฉียงใต้ของเยอรมัน ได้ทำการคงคำสั่งในการห้ามขาย คุกกี้ ที่มีส่วนผสมเป็น ขี้เลื่อย โดยเป็นการตัดสินที่มาจากการฟ้องร้องของผู้ขายสินค้าทางออนไลน์ ที่ได้มีการโต้เถียงคำสั่งดังกล่าวว่าหน่วยงานเมืองไม่มีสิทธิ์ในการห้ามขายขนมชนิดนี้
ผู้ผลิตคุกกี้ ได้กล่าวว่า เขาได้ทำการผลิตผลิตภัณฑ์ของเขามาเป็นเวลา 20 ปี และ ขี้เลื่อย มักจะอยู่ในรายชื่อของวัตถุดิบ เช่นเดีวกับแป้ง และลูกเกด โดยบนเว็บไซต์ของผู้ผลิตได้บอกว่า ขี้เลื่อยที่นำมาใช้นั้นเป็นขี้เลื่อยที่มีความบริสุทธิ์ในทางจุลชีววิทยา ซึ่งในศาลนั้น ทางเจ้าของร้านค้าผลิตภัณฑ์ธรรมชาตินั้นได้โต้แย้งว่าวัตถุดิบดังกล่าวนั้นเป็นผลิตภัณฑ์จากพืชผัก
จากบันทึกของศาลนั้นได้แสดงให้เห็นว่า ผู้ผลิตรายดังกล่าวได้ทำลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิ์ในการขายคุกกี้ของเขาในปี 2004 แต่มาในปี 2017 นั้นทางหน่วยงานเมืองได้ทำการระงับการขายเพิ่มเติมจากนี้ หลักงานจากการสุ่มตรวจโดยผู้ตรวจสอบสาธารณสุขได้พบว่า คุกกี้นั้นมีการผสมขี้เลื่อยลงไป
มาในวันจันทร์ที่ผ่านมานี้ ทางสาลจึงได้ทำการตัดสินให้ “คุกกี้ดังกล่าวนั้น ไม่ได้รับการอนุญาตให้มีการวางขายในตลาดอาหาร เนื่องด้วยพวกมันถือว่าไม่ปลอดภัยต่อการบริโภค และเมื่อพิจารณาตามหลักเกณฑ์แล้ว พบว่ามันไม่เหมาะสมสำหรับมนุษย์ที่จะบริโภคคุ้กกี้นี้”
ถึงแม้ว่า ทางผู้ผลิตนั้นจะมีการโต้แย้งว่า ขี้เลื่อย เคยถือว่าเป็นวัตถุดิบตามวัฒนธรรม สำหรับคุกกี้ โดยศาลได้พิจารณาในข้อโต้แย้งดังกล่าวว่า “ขี้เลื่อยนั้น ยังไม่เคยมีการนำมาใช้บริโภค แม้กระทั้งในภาคส่วนอุตสาหกรรมปศุสัตว์ก็ยังไม่เคยมีการนำมาใช้แต่อย่างใด”
อึ้ง เผยตัวเลข ผีน้อยตายในเกาหลีใต้ สะสมทะลุกว่า 500 ศพ
มูลนิธิ ทอมสัน รอยเตอร์ รายงานว่ามี ชาวไทยที่เข้าประเทศทั้งแบบที่ผิดกฏหมายและถูกกฏหมาย หรือ ผีน้อย ตาย ใน เกาหลีใต้ หลายร้อยศพ ตั้งแต่ช่วงปี 2558 เป็นต้นมา
เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม สำนักข่าว เจแปนไทมส์ รายงานว่า มูลนิธิ ทอมสัน รอยเตอร์ รายงานว่ามีชาวไทยในเกาหลีใต้เสียชีวิตในประเทศเกาหลีใต้ 522 ศพ นับตั้งแต่ปี 2558 ที่ผ่านมา โดยในจำนวนดังกล่าวร้อยละ 84 เป็นชาวไทยที่ไม่ได้จดทะเบียน หรือที่เรียกว่า “ผีน้อย”
โดยสถานทูตไทยประจำเทศเกาหลีใต้ระบุว่า มีแรงงานเสียชีวิตในปีนี้ 122 ศพ ถือเป็นจำนวนตัวเลขผู้เสียชีวิตที่สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ ซึ่งผู้เสียชีวิต 4 จาก 10 ศพ นั้นไม่ทราบสาเหตุการตายแน่ชัด และในปีนี้ก็ยังไม่ทราบว่าสาเหตุที่ผู้เสียชีวิตสูง เกี่ยวข้องกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 หรือไม่
นอกจากนี้จากข้อมูลยังพบว่า แรงงานชาวไทย เสียชีวิตในประเทศเกาหลีใต้มากที่สุด ในช่วงปี 2558 ถึง 2560
ด้าน ผู้เชี่ยวชาญแรงงานลี้ภัย ของ สหประชาชาติ (UN) ได้แสดงความเห็นว่า รายงานฉบับนี้ได้แสดงความกังวลให้กับเขาเป็นอย่างมาก และเขาคิดว่าเรื่องนี้ควรได้รับการใส่ใจและรับการสอบสวน และเขายังได้แสดงความกังวลถึงสุขภาพ และ ความเป็นอยู่ของผีน้อยอีกด้วย
ด้านทางการเกาหลีได้ปฏิเสธที่จะแสดงความเห็นถึงแรงงานฉบับดังกล่าว เช่นเดียวกับสถานทูตเกาหลีใต้ประจำกรุงเทพ
โดยกระทรวงต่างประเทศของไทย เคยเปิดเผยว่า มีชาวไทยอย่างน้อย 460,000 รายที่ทำงานนอกประเทศ โดยประเทศเกาหลีใต้เป็นจุดหมายที่มีชาวไทยเดินทางไปมากที่สุด ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า มีตนงานราวๆ 185,000 ที่ได้รายได้ที่มากกว่าในประเทศไทย
Credit : ที่เที่ยวญี่ปุ่น | จัดอันดับต่างๆ | รีวิวของแบรนเนม | วิธีการลงทุนต่าง