รัฐบาลปลื้มหลัง CNN Travel ยก ไข่เจียวปู ติด อาหารข้างทางยอดเยี่ยม

รัฐบาลปลื้มหลัง CNN Travel ยก ไข่เจียวปู ติด อาหารข้างทางยอดเยี่ยม

โฆษกนายกเผย รัฐบาลเตรียมเดินหน้าหนุน Soft Power หลัง CNN Travel ยก ไข่เจียวปู ข้าวซอย และ ไส้กรอกอีสาน ติดรายชื่อ อาหารข้างทางยอดเยี่ยม นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า เป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่อาหารข้างทาง (Street foods) ของไทยยังคงสร้างความประทับใจให้คนทั่วโลก หลังจากที่ CNN Travel ได้เผยแพร่รายชื่อ 50 อันดับอาหารข้างทางยอดเยี่ยมที่สุดในเอเชีย (50 of the best street foods in Asia) โดยมี 3 เมนูอาหารข้างทางของไทยติดรายชื่อดังกล่าว ได้แก่ ไข่เจียวปู ข้าวซอย และไส้กรอกอีสาน พร้อมระบุว่า รัฐบาลเดินหน้าส่งเสริม Soft Power ของไทยในด้านอาหาร และด้านอื่น ๆ สู่เวทีโลก

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า CNN Travel ได้ระบุว่า 

ไข่เจียวปู เป็นเมนูไข่ที่มีรสชาติดีกว่าเมนูไข่ประเภทอื่น ส่วนผสมของไข่และเนื้อปูทำให้อาหารจานนี้ทั้งกรอบและเนื้อนุ่มฟูน่าทาน โดยหากรับประทานพร้อมซอสพริกจะยิ่งทำให้เมนูนี้อร่อยมากยิ่งขึ้น ส่วนข้าวซอย เป็นอาหารของทางภาคเหนือของไทย มีส่วนผสมของซุปที่มีเครื่องแกงกะหรี่ ผสมกับน้ำกะทิที่เข้มข้น ราดบนเส้นบะหมี่ที่มีน่องไก่หรือเนื้อวัว และโรยด้วยเส้นบะหมี่ทอด สำหรับไส้กรอกอีสาน เป็นอาหารข้างทางที่พบได้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย เป็นไส้กรอกหมูปรุงรสผสมข้าวเหนียว กระเทียม นำไปหมักและตากแห้งจนมีรสเปรี้ยว

“ประเทศไทยได้รับความนิยมด้านความหลากหลายของอาหาร ซึ่งเกิดจากความแตกต่าง เรื่องพื้นที่เพาะปลูกทำปศุสัตว์ของท้องถิ่นแต่ละภูมิภาค ทำให้อาหารไทยมีเอกลักษณ์และเป็นที่นิยมมาตลอด ทั้งนี้ รัฐบาลตระหนักถึงข้อได้เปรียบ และได้เดินหน้าผลักดัน ส่งเสริมการขยายผล Soft power ของไทยทั้งในด้านอาหาร และด้านอื่น ๆ ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายไปทั่วโลกผ่านหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาโดยตลอด เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและสร้างรายได้ให้แก่ประเทศ” นายอนุชาฯ กล่าว

ไอเดียดีมาก ! ของขวัญวันรับปริญญา ทำร่มด้วยแบงก์ร้อย หนุ่มทุ่มให้แฟน 11,900 บาท ชาวเน็ตแห่ชมเพียบ กลายเป็นเรื่องราวสุดพิเศษ เมื่อผู้ใช้ Tiktok รายหนึ่งโพสต์คลิป ทำร่มด้วยแบงก์ร้อย เพื่อเป็นของขวัญวันรับปริญญาให้แฟนสาว มูลค่ารวม 11,900 บาท เผยไม่เคยทำให้ใครมาก่อน งานนี้ไอเดียบรรเจิด จนชาวเน็ตแห่ชมกันอย่างคึกคัก

เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา Tiktok : sittikornthep ได้โพสต์คลิปสุดน่ารัก ขณะกำลังนั่งเอาแบงก์ร้อยแปะทับร่ม เพื่อทำร่มเงินให้แฟนสาว เป็นของขวัญวันรับปริญญา พร้อมข้อความว่า…

“เมื่อแฟนผมจะรับปริญญา กลัวแฟนจะร้อนเลยทำร่มให้กางวันรับปริญญาซักหน่อย ไม่สวยเท่าไหร่แต่ไม่เคยทำอะไรแบบนี้มาก่อนเลยนะ #รักแฟน #รับปริญญา @นุ้งนิ้ง ติ๊งต๊อง”

เปิดวาร์ป Leak Yim นักธุรกิจหนุ่มกัมพูชา เจ้าของ Bugatti ในไทย

ทำความรู้จักกับ Leak Yim นักธุรกิจหนุ่มและลูกนักการเมืองกัมพูชา เจ้าของ Bugatti ในไทย หลังสร้างเสียงฮืฮาให้ชาวเน็ตเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว จากกรณีที่สัปดาห์ที่แล้วมีชาวเน็ตเห็น Bugatti ในไทย โดยเป็นรุ่น Bugatti Chiron Sport 110 ANS ที่มีผลิตแค่ 20 คันบนโลก และทำให้หลายคนตั้งคำถามว่า เจ้าของ Bugatti ในไทย คือใคร? หลังจากที่ก่อนหน้านี้ทราบแค่ว่า เป็นของนักธุรกิจหนุ่มและเป็นบุตรชายนักการเมืองจากประเทศกัมพูชา

ล่าสุดผู้ใช้เฟซบุ๊ก Bew Phattarit บุคคลที่เผยภาพ Bugatti ในไทย อัปเดตว่า Leak Yim เจ้าของ Bugatti ได้ติดต่อมาหาตน และได้โพสต์อีโมตยกมือไหว้ ซึ่งทางผู้โพสต์คลิปก็ได้ตอบกลับว่า “คนไทยตื่นเต้นกับ Chiron ของคุณมาก หวังว่าจะได้เห็นรถคุณบนถนนอีกครับ”

สำหรับ Leak Yim เจ้าของ Bugatti ในไทย เป็นของนักธุรกิจหนุ่มและเป็นบุตรชายนักการเมืองจากประเทศกัมพูชา และแต่งงานกับ นกับบีท วิษณี เทพเจริญ ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2561 หลังแต่งงาน ทางภรรยาก็ให้กำเนิดลูกน้อยหนึ่งคน

จากการส่องอินสตาแกรมของ Leak Yim นักธุรกิจกัมพูชาคนดังกล่าว พบว่ามักจะโพสต์รูปของภรรยาและลูกชายบ่อยครั้ง และใช้ชีวิตอย่างหรูหรา ทั้งนั่งเครื่องบินเจ็ตส่วนตัว ไปเล่นสกีที่ต่างประเทศ และยังเคยโพสต์คอลเลคชั่นรถหรูของตนเองด้วย ย้อนกลับไปก่อนหน้านี้ Leak Yim เจ้าของ Bugatti ในไทยได้สร้างความฮืฮอาให้กับชาวไทย หลังจากที่เขานำรถหรูของเขาวิ่งในกรุงเทพ และทำให้เป็นที่พูดคุยอย่างกว้างขวาง

หมอชนะ ประกาศ ปิด ให้บริการกับประชาชนตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. นี้เป็นต้นไป หลังเปิดตัวครั้งแรกในช่วงเดือนเมษายน 64 เพจเฟซบุ๊กของ หมอชนะ ได้ออกมาแจ้งข่าวว่า แอป หมอชนะยุติให้บริการ ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน นี้เป็นต้นไป พร้อมเขียนข้อความขอบคุณประชาชนที่มีส่วนร่วมสำคัญในการควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย

โดย หมอชนะ นั้นได้เปิดให้บริการครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2564 และถูกใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการอำนวยความสะดวกให้แก่เจ้าหน้าที่แพทย์ในการสอบสวนโรค ด้วยการที่ประชาชนสแกนข้อมูลการเดินทางเพื่อเช็คอินตามสถานที่ต่างๆ

พร้อมทั้งยังเป็นแอปที่ใช้ในการแจ้งเตือนประชาชน รวมถึงวิธีการปฏิบัติตนหากสัมผัสกับกลุ่มผู้เสี่ยงโควิดอีกด้วย

Credit : ที่เที่ยวญี่ปุ่น | จัดอันดับต่างๆ | รีวิวของแบรนเนม | วิธีการลงทุนต่า